จดทะเบียนบริษัท

 จดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด



จดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด
    สำหรับการเริ่มต้นธุรกิจ สู่การเติบโตในอนาคต

          บริษัท พีชญา แอคเคาท์  จำกัด ยินดีให้บริการทุกท่าน ทั่วประเทศ

ด้วยประสบการณ์สำนักงานบัญชีมากกว่า 10 ปี  มีใบอนุญาตทำบัญชีถูกต้อง ทั้งของสำนักงานและผู้ทำบัญชี เรายินดีให้บริการด้านบัญชีครบวงจรค่ะ


ค่าบริการจดทะเบียน 

งานด้านจดทะเบียน

 บริการจดทะเบียน(แบบกระดาษ)

 1.จดหจก. 4,500 บาท

 2.จดบริษัท 9,500 บาท 

 3.จดบริษัท ออนไลน์ 6,900 บาท (ลูกค้าสะดวกยืนยันตัวตนออนไลน์ ไม่ยุ่งยาก ช่วยแนะนำให้ค่ะ)

 (รวมค่าธรรมเนียมฯ แล้ว)

 

   แถมฟรี 25 รายการ บริการทั่วประเทศ


ฟรี ! ตรายางหมึกในตัว 1 อัน 
ฟรี ! จองชื่อ
ฟรี ! จัดทำแผนที่ตั้งกิจการ
ฟรี ! จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มออนไลน์
ฟรี ! ขอรหัส ยื่น E-filing
ฟรี ! แบบฟอร์มการเปิดบัญชีธนาคาร
ฟรี ! ไฟล์เอกสารขึ้นทะเบียนกับประกันสังคม
ฟรี ! ไฟล์เอกสารสัญญาเช่า หรือหนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่
ฟรี ! ไฟล์สต็อค
ฟรี ! ไฟล์เอกสารภายใน ใบกำกับภาษี ใบเสร็จ ใบสำคัญรับ จ่าย ทั่วไป
ฟรี ! ไฟล์คำอธิบายการจัดทำเอกสารสำหรับกิจการ
ฟรี ! ไฟล์ สิ่งที่ต้องรู้และจัดทำเมื่อจัดตั้งบริษัท/หจก.
ฯลฯ

หากสนใจติดต่อได้ที่

 Line id : phichayaa95  

หรือโทร 064-3915647, 065-6156529

***สนใจทำบัญชี เริ่มต้น เดือนละ 2,500 บาท***

 

เอกสารสำคัญที่ท่านจะได้รับหลังจดทะเบียนเรียบร้อยแล้ว

  บริษัทจำกัด

1.ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน (ทะเบียนพาณิชย์)

2.หนังสือรับรอง

3.หนังสือบริคณห์สนธิ อบจ.2.

4.รายการจดทะเบียนจัดตั้ง อบจ.3

5.รายชื่อผู้ถือหุ้น บอจ.5

6.กรรมการเข้าใหม่ แบบ ก

7.รายงานการประชุม

8.ใบเสร็จรับเงินกรมพัฒนาฯ

 

  ห้างหุ้นส่วนจำกัด

1.ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน (ทะเบียนพาณิชย์)

2.หนังสือรับรอง

3.หส.2

4.ใบเสร็จกรมพัฒนาฯ

 

 4.บริการจดทะเบียนแก้ไข เปลี่ยนแปลง กรมสรรพากร เริ่มต้น 3,000 บาท (กรณีพื้นที่นครปฐม สมุทรสาคร)

 5.บริการจดทะเบียนแก้ไข เปลี่ยนแปลง กรมพัฒนา เริ่มต้น 4,000 บาท รวมค่าธรรมเนียมแล้ว (กรณีพื้นที่นครปฐม สมุทรสาคร)

 6. บริการขึ้นทะเบียนนายจ้างกับประกันสังคม เริ่มต้น 3,000 บาท (กรณีพืันที่นครปฐม สมุทรสาคร)

 7.บริการจดเลิกบริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด เริ่มต้น 10,000 บาท (รวมค่าธรรมเนียมหมดแล้ว)

 

เราพร้อมบริการท่าน ขอให้เชื่อมั่นและไว้ใจเรา ให้ดูแลเรื่องบัญชีและภาษีให้ท่านนะคะ

บจ.พีชญา แอคเคาท์ ยินดีให้บริการทั่วประเทศค่ะ

โทร 064-3915647 , 065-6156529

หรือ https://line.me/ti/p/2NMHU8QxFU

 




                                                
  หากสนใจติดต่อได้ที่

 Line id : phichayaa95  

หรือโทร 064-3915647, 065-6156529

ยินดีให้บริการทุกท่าน



 หากมีข้อสงสัยขั้นตอนไหนสอบถามได้ค่ะ

               แต่ถ้าหากท่านไม่มีเวลาสำหรับการจดทะเบียนเอง เรามีบริการรับจดทะเบียนให้บริการแก่ท่าน ท่านจะได้มีเวลามากขึ้นสำหรับบริหารจัดการธุรกิจของท่านได้อย่างเต็มที่ งานจดทะเบียนหรือรับทำบัญชี ให้เป็นหน้าที่ของเราดูแล 

               การจดทะเบียนบริษัท  การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด การจดทะเบียนจัดตั้ง การเปิดบริษัท การเปิดห้างหุ้นส่วนจำกัด คือการเริ่มต้นดำเนินธุรกิจในรูปแบบของนิติบุคคล สำหรับกิจการที่เริ่มมีการเติบโต และต้องการเพิ่มความเชื่อมั่นและน่าเชื่อถือให้กับลูกค้า จึงเริ่มที่จะมีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัดมากขึ้น ซึ่งเราจะมาดูกันนะคะว่าขั้นตอน เอกสาร และวิธีการจดทะเบียนจะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง และมีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบต่อเนื่องหลังจากที่จดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลแล้วอย่างไรบ้าง 
  
จดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด
ควรจดทะเบียนเมื่อไหร่

1.จดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด เมื่อรายได้มากกว่า 750,000 บาท ขึ้นไป หรือตามความเหมาะสม
2.จดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด เมื่อเริ่มประกอบการ สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการสร้างเครดิตให้กับกิจการ
3.จดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด เมื่อต้องการสร้างเครดิตให้กับกิจการ เพื่อโปรโมทสินค้า หรือเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า

จดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด 
ต้องมีกี่คน ทุนจดทะเบียนเท่าไหร่

ข้อแตกต่างระหว่างจดทะเบียนบริษัทและห้างหุ้นส่วนจำกัด


1. บริษัทจำกัด คือ บริษัทประเภทที่จัดตั้งขึ้นโดยแบ่งทุนออกเป็นหุ้น มีมูลค่าหุ้นเท่า ๆ กัน โดยมีผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัด เพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้นที่ตนถือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือ ห้างหุ้นส่วน ประเภท ที่มีผู้เป็นหุ้นส่วนอยู่ 2 จำพวก คือ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนที่จำกัดความรับผิดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนรับจะลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนนั้นจำพวกหนึ่ง และ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนที่ต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนไม่จำกัดจำนวน อีกจำพวกหนึ่ง **บริษัทจำกัด จะมี ผู้ถือหุ้น จะรับผิดเพียงจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังใช้ไม่ครบเท่านั้น ** ห้างหุ้นส่วนจำกัด จะมี ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด จะต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วน โดยไม่จำกัดจำนวน คือ เกินจำนวนเงินที่ตนประสงค์จะลงหุ้น
2. บริษัทจำกัด จะต้องมี กรรมการหนึ่งคน หรือหลายคน เป็นผู้แทน จัดการบริษัทจำกัดนั้นตามข้อบังคับของบริษัท และอยู่ในความครอบงำของที่ประชุมใหญ่ของผู้ถือหุ้น ห้างหุ้นส่วนจำกัด จะต้องมี หุ้นส่วนผู้จัดการ หนึ่งคน หรือหลายคน เป็นผู้แทน จัดการงานของห้างหุ้นส่วน โดยที่หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดจะสอดเข้าไปจัดการงานของห้างหุ้นส่วนไม่ได้ **การจัดการงานของห้างหุ้นส่วนจำกัด จึงเป็นอำนาจเด็ดขาดของ หุ้นส่วนผู้จัดการ 
3. สิทธิ และหน้าที่ ที่เป็นความสัมพันธ์กันเอง ของผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วน และบุคคลภายนอก ในบริษัทจำกัด และห้างหุ้นส่วนจำกัด ยังมีข้อแตกต่างกันอีกหลายประการ ศึกษาดูได้จากหลักกฎหมาย ประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ 
4. บริษัทจำกัด และ ห้างหุ้นส่วนจำกัด มีหน้าหลักที่เหมือน คือมีหน้าที่ต้องยื่นแบบเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่จะต้องเสียภาษีจากกำไรสุทธิ เหมือนกัน แต่อาจมีหน้าที่ที่เหมือนกัน หรือแตกต่างกันบ้าง ตามประมวลรัษฎากร กำหนดไว้

ข้อมูลเบื้องต้นที่ต้องเตรียมสำหรับจดบริษัท หรือหจก.

1.ชื่อบริษัท ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ อย่างน้อย 2 ชื่อ (เผื่อไว้ 1 ชื่อ)

2.สำเนาบัตรประชาชนของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกท่าน เบอร์โทร และอาชีพ

    (บริษัท 3 ท่าน หจก. 2 ท่าน)

3.สำเนาทะเบียนบ้านหน้าแรก ที่จะใช้ประกอบกิจการ 


           เมื่อจัดเตรียมข้อมูลเรียบร้อยแล้ว สนใจให้เราจดทะเบียนบริษัท หจก. เราพร้อมและยินดีให้บริการทุกท่านทั่วประเทศค่ะ


จดทะเบียนเป็นบริษัท หรือจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด 
จดทะเบียนเป็นแบบไหนดีกว่ากัน มีข้อแตกต่างกันอย่างไรบ้าง


"บริษัทจำกัด" มีลักษณะดังนี้
1. ต้องมีผู้ร่วมลงทุน อย่างน้อย 3 คน 
2. แบ่งทุนออกเป็นหุ้น และมีมูลค่าหุ้นละเท่าๆ กัน 
3. มูลค่าหุ้นจะต้องไม่ต่ำกว่า 5 บาท
4. ความรับผิดชอบของผู้ถือหุ้นมีจำกัด (เฉพาะจำนวนเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบ) 
5. ต้องจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 

"ห้างหุ้นส่วนจำกัด" มีลักษณะดังนี้ 
1. มีผู้เป็นหุ้นส่วนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป 
2. ผู้เป็นหุ้นส่วนมี 2 จำพวก คือ
 2.1 หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดชอบ รับผิดเฉพาะจำนวนเงินที่รับว่าจะลงหุ้นในห้างหุ้นส่วน 
 2.2 หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความผิดชอบ รับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน 
3. ผู้เป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้นเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ 
4. ต้องจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 


จดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด ต้องเตรียมข้อมูลอะไรบ้าง

จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด


1.ชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด จำนวน 3 ชื่อ ไทยและอังกฤษ (เรียงตามความต้องการ)
2.สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านหุ้นส่วนผู้จัดการ 
3.สำเนาบัตรประชาชนผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด 
4.จำนวนทุนจดทะเบียนและสัดส่วนของเงินทุนของผู้เป็นหุ้นส่วน(ลงหุ้นคนละเท่าไหร่)
5.แผนที่บริษัท 1 ชุด (ไฟล์รูปภาพ)
6.ไฟล์ตราประทับ (สำหรับทำตราประทับ หรือแนบสำหรับการยื่นแบบออนไลน์)
7.วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง จัดตั้งขึ้นเพื่อประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอะไร
8.เบอร์โทร เมลล์ เว็บไซต์ (ถ้ามี) ที่ใช้ในการติดต่อ หจก.  
9.เบอร์โทร เมลล์และอาชีพของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
10.สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านผู้ให้เช่าที่เป็นเจ้าของ(สถานที่ตั้งเป็นชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการ)
พร้อมหนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ (กรณีถ้าจัดตั้งและจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
แต่ถ้าจัดตั้งอย่างเดียว ให้ใช้แค่สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าบ้าน
11.รูปถ่ายห้างหุ้นส่วนจำกัดภายในภายนอกอย่างน้อย 5-6 รูป (กรณีถ้าจัดตั้งและจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)


จดทะเบียนบริษัท


1.ชื่อบริษัท จำนวน 3 ชื่อ ไทยและอังกฤษ (เรียงตามความต้องการ)
2.สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม และผู้ถือหุ้น 2 ชุด 
3.จำนวนทุนจดทะเบียนและจำนวนหุ้น (ค่าหุ้น) ที่เรียกชำระแล้ว อย่างน้อยร้อยละ 25% (ถือหุ้นคนละกี่หุ้น หุ้นละเท่าไหร่)
4.แผนที่บริษัท 1 ชุด (ไฟล์รูปภาพ)
5.ไฟล์ตราประทับ (สำหรับทำตราประทับ หรือแนบสำหรับการยื่นแบบออนไลน์)
6.วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง จัดตั้งขึ้นเพื่อประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอะไร
7.เบอร์โทร เมลล์ เว็บไซต์ (ถ้ามี) ที่ใช้ในการติดต่อ บจก. 
8.เบอร์โทร เมลล์และอาชีพของผู้ถือหุ้นทุกคน
9.สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านผู้ให้เช่าที่เป็นเจ้าของ(สถานที่ตั้งเป็นชื่อกรรมการ)
พร้อมหนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ (กรณีถ้าจัดตั้งและจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
แต่ถ้าจัดตั้งอย่างเดียว ให้ใช้แค่สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าบ้าน
10.รูปถ่ายห้างหุ้นส่วนจำกัดภายในภายนอกอย่างน้อย 5-6 รูป (กรณีถ้าจัดตั้งและจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
11.สำเนาบัตร เบอร์โทรของพยาน 2 ท่าน
12.ชื่อและเลขที่ใบอนุญาตของผู้สอบบัญชี
13.สำเนาบัตรของผู้รับรองลงลายมือชื่อ ผู้สอบบัญชี ผู้ทำบัญชี หรือทนายความ (กรณีผู้มีอำนาจลงนามไม่ได้ไปยื่นด้วยตนเอง)



จดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด 
ต้องจัดทำเอกสารอะไรบ้าง

จดทะเบียนบริษัท แบบกระดาษ


1.สมัครผู้ใช้งานกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อจองชื่อกิจการ
2.จองชื่อบริษัท 
3.เมื่อผลการจองชื่อผ่าน นำชื่อที่เราจองไว้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า มาจัดทำเอกสารสำหรับจดทะเบียน
ดังนี้
   1.อบจ.1
   2.คำรับรอง
   3.บอจ.2
   4.แบบ ว. ตามประเภทธุรกิจ 
             ว.1 พาณิชยกรรม
             ว.2 บริการ
             ว.3 อุตสาหกรรมและหัตถกรรม
             ว.4 เกษตรกรรม
             ว.5 สำนักงานปฎิบัติการภูมิภาค
             หากต้องการเพิ่มประเภทธุรกิจเพิ่มเติม ต่อจากแบบ ว. ตามประเภทธุรกิจ สามารถเพิ่มแบบ ว. เพิ่มรายละเอียดเกี่ยวกับวัตถุประสงค์เพิ่มเติมได้
   5.อบจ.3
   6.แบบ ก.
   7.รายชื่อผู้เริ่มก่อการและผู้เข้าชื่อซื้อหุ้น
   8.รายงานการประชุมตั้งบริษัท
   9.ข้อบังคับ
   10.อบจ.5
   11.สสช.1
   12.ใบชำระเงินค่าหุ้น ของแต่ละท่าน แยกกันทีละใบ
   13.แนบไฟล์งานแผนที่ตั้งบริษัท ในฟอร์มแผนที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของกรมพัฒนา
   14.หนังสือมอบอำนาจ หากผู้มีอำนาจลงนามไม่ได้ไปยื่นจดทะเบียนด้วยตนเอง
   15.การจัดทำเอกสารต้องพิมพ์ดีด หรือพิมพ์จากคอมพิวเตอร์เท่านั้น
   16.เมื่อจัดทำเอกสารเรียบร้อยแล้ว พิมพ์มาให้ผู้มีอำนาจลงนาม ผู้ถือหุ้น ผู้รับรองลงลายมือชื่อ
       และพยาน ลงนามตามชื่อของแต่ละท่านให้ครบถ้วนทุกหน้า พร้อมประทับตราบริษัท (หรือไม่แน่ใจตราประทับว่าถูกต้องหรือไม่ ไปประทับตราที่กรมพัฒนาหลังจากที่สอบถามเจ้าหน้าที่ว่าถูกต้องแล้ว)
   17.นำไปจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ทุกแห่ง พร้อมชำระค่าธรรมเนียมการจัดตั้ง (ต่างเขตพื้นที่ได้ ยกเว้นจดเปลี่ยนแปลง ต้องไปที่พื้นที่นั้นเท่านั้น)
   18.หากเอกสารถูกต้องครบถ้วน เราจะได้รับเอกสารสำคัญการจดทะเบียน
       และเราต้องขอคัดเอกสารสำคัญดังนี้
       1.หนังสือรับรองทุกหน้า
       2.อบจ2
       3.อบจ.3
       4.อบจ.5
       5.แบบ ก.
       6.รายงานการประชุม


การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด แบบกระดาษ


1.สมัครผู้ใช้งานกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อจองชื่อกิจการ
2.จองชื่อบริษัท 
3.เมื่อผลการจองชื่อผ่าน นำชื่อที่เราจองไว้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า มาจัดทำเอกสารสำหรับจดทะเบียน
ดังนี้
   1.หส.1
   2.คำรับรอง
   3.หส.2
   4.แบบ ว.ตามประเภทธุรกิจ
             ว.1 พาณิชยกรรม
             ว.2 บริการ
             ว.3 อุตสาหกรรมและหัตถกรรม
             ว.4 เกษตรกรรม
             ว.5 สำนักงานปฎิบัติการภูมิภาค
             หากต้องการเพิ่มประเภทธุรกิจเพิ่มเติม ต่อจากแบบ ว. ตามประเภทธุรกิจ สามารถเพิ่มแบบ ว. เพิ่มรายละเอียดเกี่ยวกับวัตถุประสงค์เพิ่มเติมได้
   5.สสช.1
   6.ใบสำคัญรับชำระเงินลงหุ้น
   7.หนังสือมอบอำนาจ (กรณีผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการไม่ได้ไปยื่นด้วยตนเอง)
   8.การจัดทำเอกสารต้องพิมพ์ดีด หรือพิมพ์จากคอมพิวเตอร์เท่านั้น
   9.เมื่อจัดทำเอกสารเรียบร้อยแล้ว พิมพ์มาให้หุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้เป็นหุ้นส่วน ผู้รับรองลงลายมือชื่อ
       และพยาน ลงนามตามชื่อของแต่ละท่านให้ครบถ้วนทุกหน้า พร้อมประทับตราบริษัท (หรือไม่ใจตราประทับว่าถูกต้องหรือไม่ ไปประทับตราที่กรมพัฒนาหลังจากที่สอบถามเจ้าหน้าที่ว่าถูกต้องแล้ว)
   10.นำไปจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ทุกแห่ง พร้อมชำระค่าธรรมเนียมการจัดตั้ง (ต่างเขตพื้นที่ได้ ยกเว้นจดเปลี่ยนแปลง ต้องไปที่พื้นที่นั้นเท่านั้น)
   11.หากเอกสารถูกต้องครบถ้วน เราจะได้รับเอกสารสำคัญการจดทะเบียน
       และเราต้องขอคัดเอกสารสำคัญดังนี้
       1.หนังสือรับรองทุกหน้า
       2.หส.2 (มี 3 หน้า)


การจดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด แบบออนไลน์


               การจดทะเบียนแบบออนไลน์ ข้อมูลต่างๆ ที่ต้องใช้และเอกสารที่ต้องใส่ข้อมูลไม่แตกต่างกัน แตกต่างกันตรงที่จดทะเบียนออนไลน์ สามารถใส่ข้อมูลในระบบกรมพัฒนาทางออนไลน์ได้เลย โดยที่ไม่ต้องเดินทางไปกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และไม่ต้องเซ็นต์เอกสาร ใช้การลงนามอิเล็กทรอนิกส์แทน ซึ่งเราจะมาพูดถึงขั้นตอนและรายละเอียดคร่าวๆ หากต้องการข้อมูลแบบละเอียด สามารถศึกษาได้ตามคำแนะคำการจดทะเบียนที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้จัดทำขึ้น ตอนนี้เรามาดูขั้นตอนคร่าวๆ กันก่อนค่ะ
 
1.สมัครผู้ใช้งานสำหรับผู้ถือหุ้นทุกท่าน หรือผู้เป็นหุ้นส่วนทุกท่าน
2.ทำการยืนยันตัวตนของกรรมการหรือหุ้นส่วนทุกท่านซึ่งมี 3 แบบ คือ

2.1 ยืนยันตัวตนออนไลน์ โดยต้องเข้าระบบตามชื่อและรหัสผ่านที่แต่ละท่านสมัคร และทำการเลือกการยืนยันตัวตน ขั้นตอนดังนี้คือ

- การถ่ายบัตรประชาชนตัวจริงให้อยู่ในกรอบที่กำหนดให้ (ไม่มีแสงหรือเงาสะท้อน) และกดยืนยันภาพถ่าย

-การถ่ายรูปตัวจริงหุ้นส่วนท่านนั้น ให้อยู่ในกรอบที่กำหนดให้(ไม่ยิ้ม หรือเอียงข้าง ทำหน้าตรงเหมือนถ่ายบัตรประชาชน) และกดยืนยันภาพถ่าย

-การบันทึกเสียง โดยระบบจะกำหนดคำขึ้นมาให้เราพูดตาม เราก็กดบันทึกวีดีโอ และพูดคำนั้นซ้ำ ๆ ภายใน 3 วินาที และกดยืนยันวีดีโอ และกดส่งเอกสารยืนยันตัวตนได้เลย

หลังจากนั้นรอเจ้าหน้าที่ส่งข้อทางอีเมลล์  เราก็เปิดเข้าไปในเมลล์ที่ได้รับ และกด Activate Useser ก็จะเป็นการเสร็จสิ้นการยืนยันตัวตนแบบออนไลน์

2.2 กรรมการหรือหุ้นส่วนไปยืนยันตัวตนด้วยตนเองที่กรมพัฒนาฯ

เมื่อสำนักงานสมัครลงทะเบียนผู้ใช้งานให้แล้ว พิมพ์เอกสารการยืนยันตัวตนไปให้กรรมการท่านนั้น เซ็นต์ชื่อในเอกสารการขอลงทะเบียน (2จุด) และนำเอกสารไปยืนยันตัวตนเองที่กรมพัฒนาฯ โดยนำสำเนาบัตรประชาชนท่านนั้น พร้อมเซ็นต์สำเนาถูกต้อง พร้อมกับนำบัตรประชาชนตัวจริง มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ กรมพัฒนาฯ ด้วย

ส่วนกรรมการท่านอื่นสามารถมอบอำนาจให้คนใดคนหนึ่งไปยืนยันตัวตนให้ได้ แต่ต้องเซ็นต์เอกสารการขอลงทะเบียนผู้ใช้งานของแต่ละท่านให้ครบถ้วน (3จุด) และแต่ละท่านต้องแนบสำเนาบัตรประชาชนพร้อมเซ็นต์สำเนาถูกต้องไปด้วย และยื่นเอกสารการยืนยันตัวตนต่อเจ้าหน้ากรมพัฒนาฯ

2.3 มอบอำนาจให้คนอื่นไปยืนยันตัวตนให้ พิมพ์เอกสารการยืนยันตัวตนไปให้กรรมการท่านนั้น เซ็นต์ชื่อในเอกสารการขอลงทะเบียน (3จุด) และให้ผู้รับมอบอำนาจนำเอกสารไปยืนยันตัวตนเองที่กรมพัฒนาฯ โดยนำสำเนาบัตรประชาชนท่านนั้น พร้อมเซ็นต์สำเนาถูกต้อง พร้อมกับนำบัตรประชาชนตัวจริง มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ กรมพัฒนาฯ ด้วย

3.เมื่อการยืนยันตัวตนเสร็จสิ้น ให้ผู้มีอำนาจลงนามหรือหุ้นส่วนผู้จัดการดำเนินการจดทะเบียนออนไลน์ตามขั้นตอนของกรมพัฒนา และรอเจ้าหน้าที่อนุมัติทางอีเมลล์ เมื่อเจ้าหน้าที่อนุมัติการจดทะเบียนเบื้องต้น กรรมการหรือหุ้นส่วนทุกท่านต้องลงนามอิเล็คทรอนิค  

4. ให้กรรมการหรือผู้ถือหุ้นทุกท่านเข้าระบบในนามตนเองที่ได้ยื่นขอรหัสผู้ใช้ไป เข้าระบบและเลือกลงนามอิเล็กทรอนิค เมื่อลงนามทุกท่านแล้ว ดำเนินการจดทะเบียนขั้นต่อไป และพิมพ์ใบแจ้งการชำระเงินเพื่อชำระค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนที่ธนาคารหรือช่องทางอื่นๆ ที่เลือก เมื่อชำระเงินเรียบร้อยแล้วรอประมาณ 2-3 วัน เจ้าหน้าที่จะส่งเอกสารสำคัญการจดทะเบียนไปให้ที่กิจการ และกิจการสามารถนำเอกสารสำคัญนั้นไปดำเนินการเปิดบัญชีธนาคารต่อไป

 

 จดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด 
บบกระดาษและแบบออนไลน์ต่างกันอย่างไร


1.ค่าธรรมเนียมจดทะเบียน ออนไลน์ปี 64 ถูกกว่าจดแบบกระดาษ 50%

     2.การจดทะเบียน แบบกระดาษต้องเซ็นต์เอกสารทุกหน้า

     3.การจดทะเบียนออนไลน์ไม่ต้องเซ็นต์เอกสาร แต่ใช้การลงนามอิเล็คทรอนิค

     4.การจดทะเบียน ออนไลน์ ต้องมีการยืนยันตัวตนเพื่อใช้งานระบบ มี แบบ เลือกได้

                  1.ยืนยันตัวตนออนไลน์ (ถ่ายรูปบัตรปปช ถ่ายรูปตัวจริง บันทึกวีดีโอ)

                  2.หุ้นส่วนหรือกรรมการทุกคนยืนยันตัวตนด้วยตนเองที่กรมพัฒนาฯ

                  3.มอบอำนาจให้กรรมการคนใดคนหนึ่ง หรือบุคคลอื่นยืนยันตัวตนให้ที่กรมพัฒนา

     5.การจดทะเบียน ออนไลน์ เมื่อมีการจดเปลี่ยนแปลงแก้ไข สามารถทำออนไลน์ได้

       ไม่ต้องเดินทางไปที่กรมพัฒนาฯ แต่ถ้าจดกระดาษต้องเดินทางไปยื่นที่กรมพัฒนาฯ

       ในพื้นที่ที่กิจการตั้งอยู่

     6.ความปลอดภัยและน่าเชื่อถือ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของผู้ประกอบการเอง 

        ว่าต้องการให้มีการเซ็นต์ชื่อด้วยตนเองทุกครั้ง หรือต้องการใช้การลงนามแบบอิเล็กทรอนิคส์


จดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด 
จัดตั้งเป็นนิติบุคคลแล้วมีหน้าที่รายเดือน และรายปี อะไรบ้าง


      จดทะเบียนบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนจำกัดเสร็จแล้ว ตัวบริษัทจะมีภาระหน้าที่ตามกฎหมาย ดังนี้

หน้าที่รายเดือน

1. จัดทำบัญชี โดยต้องหาผู้ทำบัญชี, จัดทำบัญชี, พร้อมเตรียมเอกสารประกอบการลงบัญชี, ปิดงบการเงิน, และจัดให้มีการตรวจสอบงบการเงินโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543)
2. ยื่นส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม: หากบริษัทมีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (จด VAT) จะต้องยื่นแบบ ภ.พ.30 ทุกเดือน แม้ไม่มีรายการการค้า และให้ยื่นภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป (หรือหากยื่นผ่านอินเตอร์เน็ท สามารถยื่นได้ไม่เกินวันที่ 23 ของเดือนถัดไป) 
3. ยื่นส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย: หากบริษัทมีการจ่ายค่าบริการ จะต้องทำการหัก ณ ที่จ่าย และนำส่งสรรพากร ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป หากยื่นผ่านอินเตอร์เน็ท สามารถยื่นได้ไม่เกินวันที่  15 ของเดือนถัดไป (หากไม่มีการหัก ณ ที่จ่าย ก็ไม่ต้องยื่น)
3.1 ยื่นแบบ ภงด.1 เงินเดือน ค่าจ้าง สำหรับพนักงานประจำ 
3.2 ยื่นแบบ ภงด.3 ภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับบุคคลธรรมดา ที่ไม่ใช่พนักงานประจำ
3.3 ยื่นแบบ ภงด.53 ภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับนิติบุคคลไทย
3.4 ยื่นแบบ ภงด.54 ภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับนิติบุคคลต่างประเทศ
3.5 ยื่นแบบ ภพ.36 แบบที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ที่พิเศษก็คือผู้จ่ายค่าสินค้าหรือบริการจะเป็นผู้ยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มแทน เนื่องจากผู้ขายหรือผู้ให้บริการไม่ได้เข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทย ต้องยื่นแบบ ภ.พ.36 ไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
 
4. ยื่นประกันสังคม: บริษัทที่ขึ้นทะเบียนนายจ้าง และมีพนักงานประจำ จะต้องนำส่งเงินสมทบประกันสังคม ด้วยแบบ สปส.1-10 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป 
 
 
หน้าที่รายปี

5. ยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล กลางปี: บริษัทต้องยื่นเสียภาษีเงินได้กลางปี โดยคำนวณจากประมาณการกำไรสุทธิทั้งปี (ยกเว้นบริษัทที่เปิดกิจการปีแรก ไม่ต้องยื่นภาษีกลางปี) โดยยื่นด้วยแบบ ภงด.51 ภายใน 2 เดือน นับจากรอบระยะเวลาบัญชี 6 เดือน
6. ยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล สิ้นปี: บริษัทต้องเสียภาษีเงินได้สิ้นปี จากกำไรสุทธิในปีที่ผ่านมา โดยใช้แบบ ภงด.50 ภายใน 150 วัน นับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี
7. ยื่นส่งงบการเงิน ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ห้างหุ้นส่วนจำกัด  และ  บริษัทจำกัด มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ไปดูความแตกต่างกันได้เลยค่ะ


ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนจัดตั้ง
บริษัท : ค่าธรรมเนียมกรมพัฒนาฯ ประมาณ 6,600 บาท
ห้างหุ้นส่วนจำกัด : ค่าธรรมเนียมกรมพัฒนาฯ ประมาณ 1,600 บาท
 กรณีจดทะเบียนออนไลน์ปี 2564 ค่าธรรมเนียมจะลดลง 50%
จำนวนผู้เริ่มจดจัดตั้ง 
บริษัท : 3 คนขึ้นไป
ห้างหุ้นส่วนจำกัด : อย่างน้อย 2 คนขึ้นไป (จำกัดและไม่จำกัด อย่างน้อยจำพวก ละ 1 คน)
 
เงื่อนไขความรับผิดชอบ  
บริษัท : ทุกคนจำกัดความรับผิดชอบ 
ห้างหุ้นส่วนจำกัด :  มีหุ้นส่วน 2 จำพวก คือ จำกัดความรับผิดชอบ และไม่จำกัดความรับผิดชอบ 

 ความรับผิดชอบในหนี้สิน 
บริษัท : รับผิดชอบเฉพาะเงินลงทุนที่ยังไม่ได้ชำระ
ห้างหุ้นส่วนจำกัด : หุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิดชอบ รับผิดชอบตามเงินลงทุน ส่วนหุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิดชอบ รับผิดชอบในหนี้สินทั้งหมด (รวมถึงทรัพย์สินส่วนตัวด้วย)
 
การบริหารงาน :
บริษัท : บริหารงานโดยคณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้ง 
ห้างหุ้นส่วนจำกัด: การตัดสินใจต้องมีการเห็นขอบจากหุ้นส่วน

 การรับรองงบการเงินประจำปี
บริษัท : ต้องมีการประกาศเชิญประชุมผู้ถือหุ้นในหนังสือพิมพ์ปีละครั้ง
ห้างหุ้นส่วนจำกัด : ไม่ต้องมีการประกาศเชิญด้วยการลงโฆษณา

ผู้เซ็นต์รับรองงบการเงินประจำปี 
บริษัท : CPA เป็นผู้เซ็นต์รับรองงบ 
ห้างหุ้นส่วนจำกัด : TA หรือ CPA เป็นผู้เซ็นต์รับรองงบ


จดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด 


        หากท่านดำเนินการจดทะเบียนเรียบร้อยแล้ว หรือท่านไม่มีเวลาสำหรับการจัดทำเอกสาร เรามีบริการรับจดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด และรับทำบัญชีให้บริการท่าน


 หากสนใจติดต่อได้ที่

 Line id : phichayaa95  

หรือโทร 064-3915647, 065-6156529

ยินดีให้บริการทุกท่านค่ะ